ขอบเขตการศึกษา

  1.  ทบทวนการศึกษาที่ผ่านมา แผนพัฒนาจังหวัด และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2.  ศึกษาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และศึกษาพิจารณาคัดเลือกแนวทาง รูปแบบการขยายทางหลวง และรูปแบบงานโครงสร้างที่เหมาะสม และสำรวจออกแบบรายละเอียดทางด้านวิศวกรรม
  3.  สำรวจเก็บข้อมูลปริมาณจราจร และวิเคราะห์ปริมาณจราจรบนทางหลวง และทางแยกรวมถึงโครงข่ายที่เกี่ยวข้อง
  4.  สำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ แนวทาง แนวระดับ สิ่งก่อสร้าง สาธารณูปโภค และรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการออกแบบและการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  5.  สำรวจตรวจสอบดินและวัสดุ สำหรับการออกแบบโครงสร้างชั้นทาง
  6.  ออกแบบรายละเอียดทางหลวง ทางแยก
  7.  จัดทำแผนที่ระบบระบายน้ำตลอดทั้งทางหลวง และโครงข่ายถนนที่เกี่ยวข้อง
  8.  การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม: จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) ของรูปแบบทางเลือก และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นรายละเอียด (Environmental Impact Assessment : EIA)
  9.  การดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน:  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ของโครงการให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทราบ ตลอดการดำเนินโครงการ
  10.  สำรวจทรัพย์สินและข้อมูลเพื่อการเวนคืนขั้นเริ่มต้นที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาฯ (ถ้ามี) และ จัดทำแผนที่เขตทางหลวง บริเวณที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (ถ้ามี)
  11.  จัดเตรียมสื่อต่าง ๆ สำหรับนำเสนอโครงการฯ (Presentation) ที่สามารถนำเสนอด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามรายละเอียดที่กำหนด
  12. จัดเตรียมเอกสารข้อมูลประกอบการประกวดราคา และประเมินราคาค่าก่อสร้าง
  13.  จัดการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีตามที่ระบุไว้ในขอบเขตของงาน
Scroll to Top